วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ศึกษาดูงาน ณ บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd.

ต้นแบบบริษัทเอกชนเน้นการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd. ตั้งขึ้นในประเทศไทยวันที่ 27 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ อิเลกทรอนิค โดยเฉพาะ Hard disk drive component และ Automotive parts เป็นหลัก ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย NOK ตั้งเป้าหมายในการก้าวขึ้นสู่ความเป็น "World Class" โดยมีผลงานดีเด่นในหลายๆ ด้าน จนได้รับรางวัลมากมาย อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงานประจำปี 2550(Prime Minister Industry Award 2007), รางวัลสถานประกอบการดีเด่น (ด้านแรงงานสัมพันธ์ และสวัสดิการแรงงานประจำปี 2550), รางวัล Zero-Accident Campaign( 3,034,052 ชั่วโมงการทำงาน), รางวัล มาตรฐานแรงไทย (มรท.8001) ระดับสมบูรณ์, 5S Golden Award
การได้มาซึ่งรางวัลอันเป็นผลงานการันตีผลงานยอดเยี่ยมดังกล่าว มีเบื้องหลังความสำเร็จอยู่ที่การเป็นองค์กรเเห่งการเรียนรู้ และการมีกิจกรรม 5 ส. ที่เเข็งแกร่งและยึดถือปฏิบัติกันจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นฐานทุนเดิม อันก่อให้เกิด “คลังความรู้” (Knowledge Assets) ที่เกิดจากการทำ 5 ส. และนำเอา “เรื่องราวความสำเร็จ” (Best Practice) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในรูปแบบกลุ่มย่อยๆ ที่เรียกว่า “Small Group Activity (SGA)”

แนวคิดการสร้างองค์กรของ NOK
NOK มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยถูกกำหนดเป็นนโยบายลงจากผู้บริหารทุกคน ที่มีบทบาทในการคิดสร้างสรรค์ว่าต้องเห็นองค์กรเป็นอย่างไร จากนั้นจึงไปสร้างรูปแบบของตนเองขึ้นมา จนกระทั่งแต่ละหน่วยงานใน NOK เติบโตและพัฒนาวัฒนธรรมขึ้นในระดับหนึ่ง ก็จะนำมาปรับปรุงให้วัฒนธรรมแต่ละรูปแบบดำเนินไปด้วยกันอย่างสอดคล้อง เรียกว่า “Inside to outside” คือการมองออกจากตัวเองจนกระทั่งเข้าหาระบบทั้งองค์กร
นอกจากนี้บริษัทยังมีจุดเด่นอยู่ 4 ด้าน คือ Clean, Clear, Small Group Activity และ Smart System ซึ่งนับเป็นหัวใจความสำเร็จของ NOK
Clean ความสะอาดเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในกระบวนการผลิตในโรงงาน แม้แต่ฝุ่นแป้งผัดหน้าเพียงเม็ดเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อชิ้นงานได้
Clear ความเรียบร้อย เมื่อทำงานเสร็จก็ต้องมีการปัดกวาด จัดเก็บของให้เรียบร้อย สภาพต้องเหมือนก่อนที่จะเริ่มมาใช้งาน เมื่อจัดการเสร็จก็จะมีป้าย clear มาวางให้เห็นเด่นชัด พร้อมกับมีรูปประกอบบอกตำแหน่งอุปกรณ์ไว้อย่างละเอียด ชัดเจน เพื่อความสะดวกและความเข้าใจของผู้ใช้งานรายต่อไป
Small Group Activity (SGA) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบคณะกรรมการกิจกรรมพัฒนาต่างๆ เช่น กิจกรรม Safety TPM 5ส. ฯลฯ ซึ่งในอดีตการเรียนรู้จะกระจุกตัวอยู่ที่คณะทำงาน หรือคณะกรรมการ แต่ในระดับปฏิบัติการแล้ว กลับไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือตระหนักให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ทางคณะกรรมการจัดขึ้น ปัญหาคือ จะทำอย่างไร ให้เกิดการเรียนรู้ลงลึกถึงระดับพนักงาน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดกิจกรรม SGA ขึ้นเพื่อให้เป็นกลุ่มที่เรียนรู้ทุกๆ เรื่องในองค์กร โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ปฏิบัติงาน 8 – 10 คน ทุกคนในองค์กรจะต้องสังกัดกลุ่ม แม้แต่คณะกรรมการผู้จัดการยังต้องสังกัดกลุ่ม SGA เช่นกัน
ทั้งนี้ SGA เป็นกุศโลบายที่ทำให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดมาตรฐานการใช้งานในทุกๆ พื้นที่ และเกิดเป็นนิสัยของการทำงานประจำ ในโรงงานจะมีการจัดเตรียมพื้นที่เป็นมุมประชุมเล็กๆ ไว้ให้กลุ่มได้ใช้ประชุมกัน ซึ่งแต่ละวันแต่ละกลุ่มจะมีโอกาสประชุมกัน 10 -15 นาทีในช่วงเวลาพัก สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ทุกวันจะมีกลุ่มคุยงานกระจายอยู่ให้เห็นทั่วไป นอกจากนี้แต่ละพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็ยังได้เรียนรู้เทคนิคการทำมาตรฐานพื้นที่จากกลุ่มอื่นๆ ผ่านการดูพื้นที่จริงและสามารถเข้าไปค้นคว้าเทคนิคในเว็บไซด์ของบริษัทฯ ได้อีกด้วย
Smart System แหล่งเรียนรู้ของ NOK ที่เป็นดิจิตอล จะมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ ระบบ Internet และต่อมาคนของ NOK ได้พัฒนาต่อยอดเป็น ระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กร เป็นที่รวบรวมสาระของทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน ทุกกิจกรรม ตลอดจนการลากิจลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุม และกิจกรรมของ NOK ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ ทุกๆ สายงานจะบรรจุข้อมูลของทุกคนลงใน Portal นี้ด้วยเช่นกัน
ที่น่าทึ่งมากๆ คือ เอกสารรายงานหน้าเดียว (One-page report) เนื่องจากเป็นเอกสารรายงานผลการดำเนินงานของทุกฝ่าย ซึ่งถูกกำหนดวิธีการรายงานผล ที่ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสามารถเชื่อมโยง และประมลผลออกมา ซึ่งสามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้ถึงวันละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้บริหารเกิดความสะดวกในการติดตามผลการดำเนินธุรกิจในทุกๆ แง่มุมขององค์กรได้ครบถ้วนในเวลาอันสั้นด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารมีเวลามากพอที่จะไปคิดสร้างสรรค์พัฒนางานไปข้างหน้าตัดปัญหาการติดตามทวงถามงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ฟ้าเอกสาร เพราะสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ใหม่ที่สุดได้ในระบบ Portal

ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานในองค์กร
1. เนื่องจาก NOK มีวิสัยทัศน์ที่จะปลูกฝังวัฒนธรรมด้านวินัยและทัศนคติที่ดีในการทำงานโดยเริ่มที่ใจก่อน ทำให้วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานมีความชัดเจนและเข้มแข็ง เกิดความร่วมมือจากพนักงานทุกคน จนกระทั่งก่อให้เกิดการผลักดันกิจกรรมต่างๆ ออกมาได้ง่าย
2. “ผู้บริหาร” เป็นบุคคลสำคัญที่เป็นแบบอย่างให้พนักงานทุกๆ คน เอาจริงเอาจัง ตอบสนองนโยบายบริษัท อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นกันเอง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นสามารถสนับสนุนนโยบายของบริษัทได้เป็นอย่างดี
3.มีระบบถ่ายทอดความรู้ ที่ใครเห็นอะไร รู้อะไรดีๆ แล้วต้องมาถ่ายทอด ซึ่งอยู่ในระบบที่เรียกว่า “OPL” (One Point Lesson) เป็นการสอนแบบสั้นๆ โดย “ผู้รู้” เขียนลงบนกระดาษแผ่นเดียว อาจจะเป็นหัวหน้าสอนพนักงาน เพื่อนสอนเพื่อนก็ได้ แต่ไม่ใช่ 1 คน สอน 10 คน เป็นการสอนแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งคนเท่านั้น สิ่งนี้เองทำให้เกิดโอกาสที่พนักงานทุกคนได้แสดงศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ของตนเองอยู่เสมอ
4. NOK เป็นบริษัทเอกชนที่เปิดกว้าง ให้องค์กรภายนอกเข้ามาศึกษาดูงาน โดยได้ประโยชน์จากการดูงานคือ เป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรเกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาองค์กรซึ่งเปรียบเสมือน ”บ้าน” ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงศักยภาพให้ ”เพื่อน” ผู้มาเยือนได้เห็นอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการ “ให้” และเมื่อให้แล้ว NOK ยิ่งพบว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ”

กิจกรรมเพื่อสังคม

กิจกรรมอาสาสมัครของห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ
สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย


จัดทำโดย
นางสาวอรพิชญา ชินศูนย์
นางสาวทัศนาวรรณ ชมภู่
นางสาวสายใจ อยู่แท้กูล

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม
2. เพื่อนำสื่อไปมอบให้สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปจัดเก็บเป็นห้องสมุด ซึ่งเปรียบเสมือนกับคลังความรู้ของผู้พิการทางสายตา ให้ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้จากหนังสือเสียงที่ได้นำไปบริจาค

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ค้นหาข้อมูลเบื้องต้นที่เว็บไซด์ของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ถึงรายละเอียดขั้นตอนในการทำหนังสือเสียง
2. ติดต่อประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ เกี่ยวกับรายละเอียดของหนังสือที่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของสมาคมฯ และไม่ซ้ำกับที่สมาคมฯ มีอยู่แล้ว

3. ค้นหาหนังสือที่ต้องการจะอ่านจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งมีหนังสืออยู่มากมาย หลายประเภท
4. ติดต่อประสานงานผู้ที่ต้องการอ่านหนังสือเสียง
5. ประสานงานเรื่องห้อง อุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่บันทึกเสียง (สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
6. ดำเนินการบันทึกเสียง เพื่อจัดทำเป็นหนังสือเสียง
7. ทำการตัดต่อ แปลง file ให้เป็น file ที่สามารถใช้กับเครื่องทั่วไปได้
8. เตรียมหนังสือเสียง และสิ่งของที่จะนำไปบริจาคเพิ่มเติม ได้แก่ แผ่น CD เปล่า, เงินสด
9. นำของไปมอบให้กับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1. ความสุขใจ ความสบายใจ
2. การทำงานร่วมกัน
3. ขั้นตอนการทำหนังสือเสียง



กิจกรรม KM For Fun...D


วันที่ 27-28 กันยายน 2550 ณ ลานน้ำตก หน้าสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และหน้ากองคลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
จัดโดยนักศึกษา KM รุ่น 1,2 และ 3 ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา เครื่องมือการจัดการความรู้สำหรับการจัดการความรู้ มี ดร.อมรวรรณ ลิ้มสมมุติ เป็นผู้จัดการรายวิชา


วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ
1. เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของโครงการมาจัดตั้ง กองทุน KM Fun…D Learning เพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา KM หลักสูตรการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในรุ่นต่อๆ ไป และนำไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กพิการซ้ำซ้อนที่ปากเกร็ด
2. เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้หลายรูปแบบสำหรับการดำเนินกิจกรรม
3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

กิจกรรมต่างๆ ที่จัดในงาน
1. รับมือโลกร้อนแล้วย้อนดู ด้วยการแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายของไทย ร่วมมือร่วมใจช่วยกันรณรงค์แต่งกายด้วยสินค้าของไทย การจัดการความรู้นำสู่วิวัฒนาการสู่กระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ถักทอจนเป็นเครื่องแต่งกาย แบบสบาย ๆ การแสดงแฟชั่นโชว์ ชุดผ้าฝ้าย มีจำหน่ายเสื้อผ้าฝ้ายราคาถูก
2. มีการจัดการความรู้ด้านสุขภาพให้ความรู้ในด้านสุขภาพกายและจิต บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารสารประกอบของอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ
3. กิจกรรมบนเวที มีการตอบปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ระหว่างผู้ร่วมงาน
4. SDU Business Alliance Directory เพื่อทำฐานข้อมูลธุรกิจของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สินค้าที่ขายในงาน ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย (เสื้อ กางเกง กระเป๋า กระโปรง ฯลฯ)
2.ตุ๊กตา เครื่องประดับ
3. ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น ยา สบู่ น้ำสมุนไพร

4. อาหาร เช่น ไข่เจียว ทอดมัน
5. เครื่องดิ่ม และไอศกรีม เป็นต้น

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับ KM และ KM Tools

งานวิจัยฉบับภาษาไทย

การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรตีสายไหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
The Knowledge Management on Local Wisdom for Rotee-saimai
นายธนู บุญญานุวัตร หัวหน้าโครงการ
นางจวงจันทร์ เปลี่ยนคง นักวิจัย
นางสุธามาศ ทรวงแสวง นักวิจัย


เหตุผลที่เลือกงานวิจัยชิ้นนี้
งานวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจตรงที่ว่าโรตีสายไหม ที่มีขายตลอดสองข้างทางบนถนนในจังหวัดอยุธยา สามารถนำมาจัดการความรู้ได้เหมือนกัน จึงอยากรู้วิธีและกระบวนการในการจัดทำ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1) เพื่อศึกษาการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตโรตีสายไหม
2) เพื่อรวบรวมความรู้การผลิตโรตีสายไหม และ
3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาอาชีพโรตีสายไหม ในพื้นที่ชุมชนป่าตองและชุมชนประตูชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทฤษฎี และกรอบแนวความคิด
นักวิชาการได้เสนอแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ไว้หลายรูปแบบ แต่ที่น่าสนใจได้แก่ “โมเดลการจัดการความรู้ของ สคส.” (KMI Model) ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการความรู้ของนักปฏิบัติ และโมเดลการสร้างความรู้ของนักจัดการความรู้ที่เรียกว่าวงจร “เซกิ” (SECI) ของ อิคุจิโร่ โนนากะ (Ikujiro Nonaka) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย ฮิโตสุบาชิ (Hitosubashi University) ผู้มีบทบาทสำคัญต่อแนวคิดด้านการจัดการความรู้ในประเทศญี่ปุ่น
แนวคิดการจัดการความรู้ตามโมเดลของ สคส.
• วงจรการเรียนรู้
• วงจรองค์ความรู้
• วงจรแหล่งความรู้ภายนอก
แนวความคิดการจัดการความรู้ของโนนากะ
• ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
• ส่งเสริมให้เกิดการสืบทอดความรู้
• ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความรู้
• ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเกลียวความรู้



จากแนวความคิดของโมเดลทั้งสอง ผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยครั้งนี้ ด้วยการนำหลักการจัดการความรู้วงจร “เซกิ” มาใช้เป็นแนวทางจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการผลิตโรตีสายไหม ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเกลียวความรู้เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น และบันทึกผลการเรียนรู้ไว้ในสื่อเพื่อการสืบทอดให้เป็นมรดกอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชน ส่วนแนวคิดตามโมเดลของ สคส. ใช้เป็นกรณีศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ในการจัดการความรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ในสนามวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัยและสถิติการวิจัย
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจชุมชน การสัมภาษณ์บุคคล และการสนทนากลุ่ม เพื่อนำไปสู่การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ
สถิติที่ใช้โดยการพรรณนาเนื้อหา

ผลการวิจัย
- ผลการวิจัยพบว่า การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตโรตีสายไหมเป็นรูปแบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ ถ่ายทอดกันในครอบครัวและเครือญาติด้วยการเป็นลูกมือช่วยงานจนสามารถทำเองได้ และถ่ายทอดออกจากหมู่เครือญาติโดยลูกจ้างที่มาช่วยงาน ในปัจจุบันมีการจัดสอนโดยตรงจากผู้ประกอบการ และการจัดอบรมระยะสั้นโดยหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มส่งเสริมอาชีพ
- ด้านความรู้ในการผลิตโรตีสายไหมพบว่ามี 5 ขั้นตอนคือ “การหม่าแป้ง” “การแต้มแป้ง” “การทำหัวเชื้อ” “การเคี่ยวน้ำตาล” และ “การดึงเส้นสายไหม”
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรตีสายไหมต่างกันอยู่ที่คุณภาพของวัตถุดิบ ส่วนประสมในการปรุงแต่งรส วิธีการทำแป้งให้นุ่มหอมและใหม่สดอยู่เสมอ การใส่หัวเชื้อเพื่อให้เส้นสายไหมมีรสหวานมันและดึงออกเป็นเส้นสายไหมได้ง่าย
- ส่วนปัญหาการพัฒนาอาชีพพบว่า การผลิตต้องใช้แรงงานคนที่แข็งแรงในการดึงเส้นสายไหม แหล่งผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการบางรายใส่สารกันบูด ผลิตภัณฑ์โรตีสายไหมเก็บไว้ได้ไม่นาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต การจราจรเป็นอุปสรรคต่อการจำหน่าย ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ในการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และแข่งขันกันกดราคาสินค้าทำให้ค่าตอบแทนต่ำ ส่วนแนวทางพัฒนาอาชีพ
- ผู้ประกอบการโรตีสายไหมมีความเห็นร่วมกันว่าควรพัฒนาในเรื่อง การสร้างเครื่องมือดึงเส้นสายไหมแทนการใช้แรงงานคน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สามารถเก็บไว้ได้ยาวนาน การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการบริโภคและเป็นเอกลักษณ์ การสร้างความตระหนักในด้านคุณภาพ การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน การปรับปรุงระบบจราจรในชุมชน และการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน


คำถาม
เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพโรตีสายไหมของการวิจัยครั้งนี้พบว่า เป็นเพียงการค้นพบ เป็นเพียงการค้นพบ เป้าหมาย และรวบรวม องค์ความรู้เดิม ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น ยังไม่ได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพโรตีสายไหมให้ก้าวไปสู่ คุณภาพที่ได้มาตรฐาน
ถ้าให้ท่านทำวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยเรื่องโรตีสายไหมชิ้นนี้ ท่านจะทำเรื่องอะไร เพราะอะไร




งานวิจัยฉบับภาษาอังกฤษ

A contingency model for knowledge management capability and innovation
Author : Teresa L. Ju, Chia – Ying Li, Tien – Shian Lee
2006

หตุผลที่เลือกงานวิจัยชิ้นนี้
เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นงานวิจัย ที่นำเสนอรูปแบบเกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีองค์กรแห่งการเรียนรู้ และกลยุทธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบสถานการณ์ต่างๆ ของกลยุทธ์ เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของความรู้ การเรียนรู้องค์กร (OL) ความสามารถในการจัดการความรู้และด้านนวัตกรรม

ทฤษฎี และกรอบแนวความคิด
1.อิทธิพลของลักษณะความรู้ การเรียนรู้องค์กรและการบูรณาการความรู้ ต่อความสามารถในการจัดการความรู้
2.อิทธิพลของการเรียนรู้องค์กร การบูรณาการความรู้ และความสามารถและนวัตกรรมของการจัดการความรู้ 3.อิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการความรู้ต่อการเรียนรู้องค์กรและความสามารถในการจัดการความรู้
4.อิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการความรู้ต่อการบูรณาการความรู้ และความสามารถในการจัดการความรู้




สมมติฐานในการวิจัย
- ลักษณะของความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับของการเรียนรู้องค์กร
- ลักษณะของความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับของความสามารถในการจัดการความรู้
- ลักษณะของความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับของการบูรณาการความรู้
- ระดับการเรียนรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับการบูรณาการความรู้
- ระดับการเรียนรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับความสามารถในการจัดการความรู้
- ระดับการเรียนรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับนวัตกรรม
- ร ะดับของการบูรณาการความรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างไรเป็นนัยสำคัญต่อระดับความสามารถในการจัดการความรู้
- ระดับของการบูรณาการความรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญของนวัตกรรมโดยรวมถึงนวัตกรรมสินค้า/ผลผลิต และนวัตกรรมด้านกระบวนการ
- ระดับของความสามารถในการจัดการความรู้ขององค์กรจะมีผลเป็นนัยสำคัญต่อระดับของนวัตกรรมที่รวมถึงนวัตกรรมผลผลิต/สินค้าและนวัตกรรมด้านกระบวนการ
- ระดับที่องค์กรเน้นในด้านมนุษย์ ที่มุ่งเน้นต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับการเรียนรู้ขององค์กรและความสามารถในการจัดการความรู้
- ผลกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบที่มุ่งเน้นต่อ กลยุทธ์การจัดการความรู้และการบูรณาการความรู้จะมีผลต่อการขยายอย่างมีนัยสำคัญของความสามารถในการจัดการความรู้

เครื่องมือและสิถิติการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ ANOVA และ LISREL เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐานทั้ง 11 ข้อ

ผลการวิจัย
- ทฤษฎีตามสถานการณ์มีความสำคัญในการสนับสนุนบทบาทต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้อย่างมาก
- รูปแบบการจัดการความรู้จะช่วยสนับสนุนพนักงานในการเก็บองค์ความรู้ที่พวกเขาได้พัฒนาในระหว่างการปฏิบัติงาน
- การเรียนรู้องค์การและการบูรณาการมีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อความสามารถในการจัดการความรู้และด้านนวัตกรรม นอกจากนั้น สิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่เพียงแต่มีผลต่อการเรียนรู้ขององค์กรแต่ยังมีผลต่อการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นตัวบุคคลด้วย
- สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของการจัดการความรู้มีผลต่อการสนับสนุนการบูรณาการความรู้ขององค์กรอีกด้วย