วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับ KM และ KM Tools

งานวิจัยฉบับภาษาไทย

การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรตีสายไหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
The Knowledge Management on Local Wisdom for Rotee-saimai
นายธนู บุญญานุวัตร หัวหน้าโครงการ
นางจวงจันทร์ เปลี่ยนคง นักวิจัย
นางสุธามาศ ทรวงแสวง นักวิจัย


เหตุผลที่เลือกงานวิจัยชิ้นนี้
งานวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจตรงที่ว่าโรตีสายไหม ที่มีขายตลอดสองข้างทางบนถนนในจังหวัดอยุธยา สามารถนำมาจัดการความรู้ได้เหมือนกัน จึงอยากรู้วิธีและกระบวนการในการจัดทำ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1) เพื่อศึกษาการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตโรตีสายไหม
2) เพื่อรวบรวมความรู้การผลิตโรตีสายไหม และ
3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาอาชีพโรตีสายไหม ในพื้นที่ชุมชนป่าตองและชุมชนประตูชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทฤษฎี และกรอบแนวความคิด
นักวิชาการได้เสนอแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ไว้หลายรูปแบบ แต่ที่น่าสนใจได้แก่ “โมเดลการจัดการความรู้ของ สคส.” (KMI Model) ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการความรู้ของนักปฏิบัติ และโมเดลการสร้างความรู้ของนักจัดการความรู้ที่เรียกว่าวงจร “เซกิ” (SECI) ของ อิคุจิโร่ โนนากะ (Ikujiro Nonaka) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย ฮิโตสุบาชิ (Hitosubashi University) ผู้มีบทบาทสำคัญต่อแนวคิดด้านการจัดการความรู้ในประเทศญี่ปุ่น
แนวคิดการจัดการความรู้ตามโมเดลของ สคส.
• วงจรการเรียนรู้
• วงจรองค์ความรู้
• วงจรแหล่งความรู้ภายนอก
แนวความคิดการจัดการความรู้ของโนนากะ
• ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
• ส่งเสริมให้เกิดการสืบทอดความรู้
• ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความรู้
• ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเกลียวความรู้



จากแนวความคิดของโมเดลทั้งสอง ผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยครั้งนี้ ด้วยการนำหลักการจัดการความรู้วงจร “เซกิ” มาใช้เป็นแนวทางจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการผลิตโรตีสายไหม ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเกลียวความรู้เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น และบันทึกผลการเรียนรู้ไว้ในสื่อเพื่อการสืบทอดให้เป็นมรดกอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชน ส่วนแนวคิดตามโมเดลของ สคส. ใช้เป็นกรณีศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ในการจัดการความรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ในสนามวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัยและสถิติการวิจัย
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจชุมชน การสัมภาษณ์บุคคล และการสนทนากลุ่ม เพื่อนำไปสู่การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ
สถิติที่ใช้โดยการพรรณนาเนื้อหา

ผลการวิจัย
- ผลการวิจัยพบว่า การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตโรตีสายไหมเป็นรูปแบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ ถ่ายทอดกันในครอบครัวและเครือญาติด้วยการเป็นลูกมือช่วยงานจนสามารถทำเองได้ และถ่ายทอดออกจากหมู่เครือญาติโดยลูกจ้างที่มาช่วยงาน ในปัจจุบันมีการจัดสอนโดยตรงจากผู้ประกอบการ และการจัดอบรมระยะสั้นโดยหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มส่งเสริมอาชีพ
- ด้านความรู้ในการผลิตโรตีสายไหมพบว่ามี 5 ขั้นตอนคือ “การหม่าแป้ง” “การแต้มแป้ง” “การทำหัวเชื้อ” “การเคี่ยวน้ำตาล” และ “การดึงเส้นสายไหม”
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรตีสายไหมต่างกันอยู่ที่คุณภาพของวัตถุดิบ ส่วนประสมในการปรุงแต่งรส วิธีการทำแป้งให้นุ่มหอมและใหม่สดอยู่เสมอ การใส่หัวเชื้อเพื่อให้เส้นสายไหมมีรสหวานมันและดึงออกเป็นเส้นสายไหมได้ง่าย
- ส่วนปัญหาการพัฒนาอาชีพพบว่า การผลิตต้องใช้แรงงานคนที่แข็งแรงในการดึงเส้นสายไหม แหล่งผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการบางรายใส่สารกันบูด ผลิตภัณฑ์โรตีสายไหมเก็บไว้ได้ไม่นาน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต การจราจรเป็นอุปสรรคต่อการจำหน่าย ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ในการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และแข่งขันกันกดราคาสินค้าทำให้ค่าตอบแทนต่ำ ส่วนแนวทางพัฒนาอาชีพ
- ผู้ประกอบการโรตีสายไหมมีความเห็นร่วมกันว่าควรพัฒนาในเรื่อง การสร้างเครื่องมือดึงเส้นสายไหมแทนการใช้แรงงานคน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สามารถเก็บไว้ได้ยาวนาน การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการบริโภคและเป็นเอกลักษณ์ การสร้างความตระหนักในด้านคุณภาพ การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน การปรับปรุงระบบจราจรในชุมชน และการสนับสนุนจากภาครัฐทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน


คำถาม
เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพโรตีสายไหมของการวิจัยครั้งนี้พบว่า เป็นเพียงการค้นพบ เป็นเพียงการค้นพบ เป้าหมาย และรวบรวม องค์ความรู้เดิม ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น ยังไม่ได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพโรตีสายไหมให้ก้าวไปสู่ คุณภาพที่ได้มาตรฐาน
ถ้าให้ท่านทำวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยเรื่องโรตีสายไหมชิ้นนี้ ท่านจะทำเรื่องอะไร เพราะอะไร




งานวิจัยฉบับภาษาอังกฤษ

A contingency model for knowledge management capability and innovation
Author : Teresa L. Ju, Chia – Ying Li, Tien – Shian Lee
2006

หตุผลที่เลือกงานวิจัยชิ้นนี้
เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นงานวิจัย ที่นำเสนอรูปแบบเกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานทฤษฎีองค์กรแห่งการเรียนรู้ และกลยุทธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบสถานการณ์ต่างๆ ของกลยุทธ์ เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของความรู้ การเรียนรู้องค์กร (OL) ความสามารถในการจัดการความรู้และด้านนวัตกรรม

ทฤษฎี และกรอบแนวความคิด
1.อิทธิพลของลักษณะความรู้ การเรียนรู้องค์กรและการบูรณาการความรู้ ต่อความสามารถในการจัดการความรู้
2.อิทธิพลของการเรียนรู้องค์กร การบูรณาการความรู้ และความสามารถและนวัตกรรมของการจัดการความรู้ 3.อิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการความรู้ต่อการเรียนรู้องค์กรและความสามารถในการจัดการความรู้
4.อิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการความรู้ต่อการบูรณาการความรู้ และความสามารถในการจัดการความรู้




สมมติฐานในการวิจัย
- ลักษณะของความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับของการเรียนรู้องค์กร
- ลักษณะของความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับของความสามารถในการจัดการความรู้
- ลักษณะของความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับของการบูรณาการความรู้
- ระดับการเรียนรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับการบูรณาการความรู้
- ระดับการเรียนรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับความสามารถในการจัดการความรู้
- ระดับการเรียนรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับนวัตกรรม
- ร ะดับของการบูรณาการความรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างไรเป็นนัยสำคัญต่อระดับความสามารถในการจัดการความรู้
- ระดับของการบูรณาการความรู้ขององค์กรจะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญของนวัตกรรมโดยรวมถึงนวัตกรรมสินค้า/ผลผลิต และนวัตกรรมด้านกระบวนการ
- ระดับของความสามารถในการจัดการความรู้ขององค์กรจะมีผลเป็นนัยสำคัญต่อระดับของนวัตกรรมที่รวมถึงนวัตกรรมผลผลิต/สินค้าและนวัตกรรมด้านกระบวนการ
- ระดับที่องค์กรเน้นในด้านมนุษย์ ที่มุ่งเน้นต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้ จะมีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อระดับการเรียนรู้ขององค์กรและความสามารถในการจัดการความรู้
- ผลกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบที่มุ่งเน้นต่อ กลยุทธ์การจัดการความรู้และการบูรณาการความรู้จะมีผลต่อการขยายอย่างมีนัยสำคัญของความสามารถในการจัดการความรู้

เครื่องมือและสิถิติการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ ANOVA และ LISREL เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐานทั้ง 11 ข้อ

ผลการวิจัย
- ทฤษฎีตามสถานการณ์มีความสำคัญในการสนับสนุนบทบาทต่อกลยุทธ์การจัดการความรู้อย่างมาก
- รูปแบบการจัดการความรู้จะช่วยสนับสนุนพนักงานในการเก็บองค์ความรู้ที่พวกเขาได้พัฒนาในระหว่างการปฏิบัติงาน
- การเรียนรู้องค์การและการบูรณาการมีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อความสามารถในการจัดการความรู้และด้านนวัตกรรม นอกจากนั้น สิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่เพียงแต่มีผลต่อการเรียนรู้ขององค์กรแต่ยังมีผลต่อการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นตัวบุคคลด้วย
- สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของการจัดการความรู้มีผลต่อการสนับสนุนการบูรณาการความรู้ขององค์กรอีกด้วย

2 ความคิดเห็น:

aui กล่าวว่า...

น้อง jan Jao ka ค้นหางานวิจัยได้ครบและครอบคลุมตามเนื้อหาของงานวิจัย ขยันทำวิทยานิพนธ์ด้วยนะคะจะได้จบเร็วๆ

Unknown กล่าวว่า...

คุณคะ ดิฉันกำลังทำสารนิพนธ์เกี่ยวกับ แนวทางการจัดการความรู้ขององค์กรภาครัฐแห่งหนึ่งอยู่ค่ะ และดิฉันได้อ่านบทความในการนำเสนอผลงานวิจัยของคุณ เรื่อง การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรตีสายไหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ถ้าดิฉันสนใจงานวิจัยเล่มเต็มของคุณเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการต่อยอดความรู้ดิฉันจะติดต่อคุณได้ที่ไหนคะ

หากคุณสะดวกกรุณาติดต่อกลับ chala_g@hotmail.com ด้วยนะคะ เผื่อดิฉันจะได้ขอคำแนะนำจากคุณ ขอบคุณค่ะ