ต้นแบบบริษัทเอกชนเน้นการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd. ตั้งขึ้นในประเทศไทยวันที่ 27 มีนาคม 2544 ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ อิเลกทรอนิค โดยเฉพาะ Hard disk drive component และ Automotive parts เป็นหลัก ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย NOK ตั้งเป้าหมายในการก้าวขึ้นสู่ความเป็น "World Class" โดยมีผลงานดีเด่นในหลายๆ ด้าน จนได้รับรางวัลมากมาย อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงานประจำปี 2550(Prime Minister Industry Award 2007), รางวัลสถานประกอบการดีเด่น (ด้านแรงงานสัมพันธ์ และสวัสดิการแรงงานประจำปี 2550), รางวัล Zero-Accident Campaign( 3,034,052 ชั่วโมงการทำงาน), รางวัล มาตรฐานแรงไทย (มรท.8001) ระดับสมบูรณ์, 5S Golden Award
การได้มาซึ่งรางวัลอันเป็นผลงานการันตีผลงานยอดเยี่ยมดังกล่าว มีเบื้องหลังความสำเร็จอยู่ที่การเป็นองค์กรเเห่งการเรียนรู้ และการมีกิจกรรม 5 ส. ที่เเข็งแกร่งและยึดถือปฏิบัติกันจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นฐานทุนเดิม อันก่อให้เกิด “คลังความรู้” (Knowledge Assets) ที่เกิดจากการทำ 5 ส. และนำเอา “เรื่องราวความสำเร็จ” (Best Practice) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในรูปแบบกลุ่มย่อยๆ ที่เรียกว่า “Small Group Activity (SGA)”
แนวคิดการสร้างองค์กรของ NOK
NOK มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยถูกกำหนดเป็นนโยบายลงจากผู้บริหารทุกคน ที่มีบทบาทในการคิดสร้างสรรค์ว่าต้องเห็นองค์กรเป็นอย่างไร จากนั้นจึงไปสร้างรูปแบบของตนเองขึ้นมา จนกระทั่งแต่ละหน่วยงานใน NOK เติบโตและพัฒนาวัฒนธรรมขึ้นในระดับหนึ่ง ก็จะนำมาปรับปรุงให้วัฒนธรรมแต่ละรูปแบบดำเนินไปด้วยกันอย่างสอดคล้อง เรียกว่า “Inside to outside” คือการมองออกจากตัวเองจนกระทั่งเข้าหาระบบทั้งองค์กร
นอกจากนี้บริษัทยังมีจุดเด่นอยู่ 4 ด้าน คือ Clean, Clear, Small Group Activity และ Smart System ซึ่งนับเป็นหัวใจความสำเร็จของ NOK
Clean ความสะอาดเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในกระบวนการผลิตในโรงงาน แม้แต่ฝุ่นแป้งผัดหน้าเพียงเม็ดเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อชิ้นงานได้
Clear ความเรียบร้อย เมื่อทำงานเสร็จก็ต้องมีการปัดกวาด จัดเก็บของให้เรียบร้อย สภาพต้องเหมือนก่อนที่จะเริ่มมาใช้งาน เมื่อจัดการเสร็จก็จะมีป้าย clear มาวางให้เห็นเด่นชัด พร้อมกับมีรูปประกอบบอกตำแหน่งอุปกรณ์ไว้อย่างละเอียด ชัดเจน เพื่อความสะดวกและความเข้าใจของผู้ใช้งานรายต่อไป
Small Group Activity (SGA) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบคณะกรรมการกิจกรรมพัฒนาต่างๆ เช่น กิจกรรม Safety TPM 5ส. ฯลฯ ซึ่งในอดีตการเรียนรู้จะกระจุกตัวอยู่ที่คณะทำงาน หรือคณะกรรมการ แต่ในระดับปฏิบัติการแล้ว กลับไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือตระหนักให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ทางคณะกรรมการจัดขึ้น ปัญหาคือ จะทำอย่างไร ให้เกิดการเรียนรู้ลงลึกถึงระดับพนักงาน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดกิจกรรม SGA ขึ้นเพื่อให้เป็นกลุ่มที่เรียนรู้ทุกๆ เรื่องในองค์กร โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ปฏิบัติงาน 8 – 10 คน ทุกคนในองค์กรจะต้องสังกัดกลุ่ม แม้แต่คณะกรรมการผู้จัดการยังต้องสังกัดกลุ่ม SGA เช่นกัน
ทั้งนี้ SGA เป็นกุศโลบายที่ทำให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดมาตรฐานการใช้งานในทุกๆ พื้นที่ และเกิดเป็นนิสัยของการทำงานประจำ ในโรงงานจะมีการจัดเตรียมพื้นที่เป็นมุมประชุมเล็กๆ ไว้ให้กลุ่มได้ใช้ประชุมกัน ซึ่งแต่ละวันแต่ละกลุ่มจะมีโอกาสประชุมกัน 10 -15 นาทีในช่วงเวลาพัก สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ทุกวันจะมีกลุ่มคุยงานกระจายอยู่ให้เห็นทั่วไป นอกจากนี้แต่ละพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็ยังได้เรียนรู้เทคนิคการทำมาตรฐานพื้นที่จากกลุ่มอื่นๆ ผ่านการดูพื้นที่จริงและสามารถเข้าไปค้นคว้าเทคนิคในเว็บไซด์ของบริษัทฯ ได้อีกด้วย
Smart System แหล่งเรียนรู้ของ NOK ที่เป็นดิจิตอล จะมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ ระบบ Internet และต่อมาคนของ NOK ได้พัฒนาต่อยอดเป็น ระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กร เป็นที่รวบรวมสาระของทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน ทุกกิจกรรม ตลอดจนการลากิจลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุม และกิจกรรมของ NOK ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ ทุกๆ สายงานจะบรรจุข้อมูลของทุกคนลงใน Portal นี้ด้วยเช่นกัน
ที่น่าทึ่งมากๆ คือ เอกสารรายงานหน้าเดียว (One-page report) เนื่องจากเป็นเอกสารรายงานผลการดำเนินงานของทุกฝ่าย ซึ่งถูกกำหนดวิธีการรายงานผล ที่ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสามารถเชื่อมโยง และประมลผลออกมา ซึ่งสามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้ถึงวันละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้บริหารเกิดความสะดวกในการติดตามผลการดำเนินธุรกิจในทุกๆ แง่มุมขององค์กรได้ครบถ้วนในเวลาอันสั้นด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารมีเวลามากพอที่จะไปคิดสร้างสรรค์พัฒนางานไปข้างหน้าตัดปัญหาการติดตามทวงถามงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ฟ้าเอกสาร เพราะสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ใหม่ที่สุดได้ในระบบ Portal
ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานในองค์กร
1. เนื่องจาก NOK มีวิสัยทัศน์ที่จะปลูกฝังวัฒนธรรมด้านวินัยและทัศนคติที่ดีในการทำงานโดยเริ่มที่ใจก่อน ทำให้วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานมีความชัดเจนและเข้มแข็ง เกิดความร่วมมือจากพนักงานทุกคน จนกระทั่งก่อให้เกิดการผลักดันกิจกรรมต่างๆ ออกมาได้ง่าย
2. “ผู้บริหาร” เป็นบุคคลสำคัญที่เป็นแบบอย่างให้พนักงานทุกๆ คน เอาจริงเอาจัง ตอบสนองนโยบายบริษัท อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นกันเอง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นสามารถสนับสนุนนโยบายของบริษัทได้เป็นอย่างดี
3.มีระบบถ่ายทอดความรู้ ที่ใครเห็นอะไร รู้อะไรดีๆ แล้วต้องมาถ่ายทอด ซึ่งอยู่ในระบบที่เรียกว่า “OPL” (One Point Lesson) เป็นการสอนแบบสั้นๆ โดย “ผู้รู้” เขียนลงบนกระดาษแผ่นเดียว อาจจะเป็นหัวหน้าสอนพนักงาน เพื่อนสอนเพื่อนก็ได้ แต่ไม่ใช่ 1 คน สอน 10 คน เป็นการสอนแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งคนเท่านั้น สิ่งนี้เองทำให้เกิดโอกาสที่พนักงานทุกคนได้แสดงศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ของตนเองอยู่เสมอ
4. NOK เป็นบริษัทเอกชนที่เปิดกว้าง ให้องค์กรภายนอกเข้ามาศึกษาดูงาน โดยได้ประโยชน์จากการดูงานคือ เป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรเกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาองค์กรซึ่งเปรียบเสมือน ”บ้าน” ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงศักยภาพให้ ”เพื่อน” ผู้มาเยือนได้เห็นอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการ “ให้” และเมื่อให้แล้ว NOK ยิ่งพบว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ”
การได้มาซึ่งรางวัลอันเป็นผลงานการันตีผลงานยอดเยี่ยมดังกล่าว มีเบื้องหลังความสำเร็จอยู่ที่การเป็นองค์กรเเห่งการเรียนรู้ และการมีกิจกรรม 5 ส. ที่เเข็งแกร่งและยึดถือปฏิบัติกันจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นฐานทุนเดิม อันก่อให้เกิด “คลังความรู้” (Knowledge Assets) ที่เกิดจากการทำ 5 ส. และนำเอา “เรื่องราวความสำเร็จ” (Best Practice) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในรูปแบบกลุ่มย่อยๆ ที่เรียกว่า “Small Group Activity (SGA)”
แนวคิดการสร้างองค์กรของ NOK
NOK มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยถูกกำหนดเป็นนโยบายลงจากผู้บริหารทุกคน ที่มีบทบาทในการคิดสร้างสรรค์ว่าต้องเห็นองค์กรเป็นอย่างไร จากนั้นจึงไปสร้างรูปแบบของตนเองขึ้นมา จนกระทั่งแต่ละหน่วยงานใน NOK เติบโตและพัฒนาวัฒนธรรมขึ้นในระดับหนึ่ง ก็จะนำมาปรับปรุงให้วัฒนธรรมแต่ละรูปแบบดำเนินไปด้วยกันอย่างสอดคล้อง เรียกว่า “Inside to outside” คือการมองออกจากตัวเองจนกระทั่งเข้าหาระบบทั้งองค์กร
นอกจากนี้บริษัทยังมีจุดเด่นอยู่ 4 ด้าน คือ Clean, Clear, Small Group Activity และ Smart System ซึ่งนับเป็นหัวใจความสำเร็จของ NOK
Clean ความสะอาดเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในกระบวนการผลิตในโรงงาน แม้แต่ฝุ่นแป้งผัดหน้าเพียงเม็ดเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อชิ้นงานได้
Clear ความเรียบร้อย เมื่อทำงานเสร็จก็ต้องมีการปัดกวาด จัดเก็บของให้เรียบร้อย สภาพต้องเหมือนก่อนที่จะเริ่มมาใช้งาน เมื่อจัดการเสร็จก็จะมีป้าย clear มาวางให้เห็นเด่นชัด พร้อมกับมีรูปประกอบบอกตำแหน่งอุปกรณ์ไว้อย่างละเอียด ชัดเจน เพื่อความสะดวกและความเข้าใจของผู้ใช้งานรายต่อไป
Small Group Activity (SGA) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบคณะกรรมการกิจกรรมพัฒนาต่างๆ เช่น กิจกรรม Safety TPM 5ส. ฯลฯ ซึ่งในอดีตการเรียนรู้จะกระจุกตัวอยู่ที่คณะทำงาน หรือคณะกรรมการ แต่ในระดับปฏิบัติการแล้ว กลับไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือตระหนักให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ทางคณะกรรมการจัดขึ้น ปัญหาคือ จะทำอย่างไร ให้เกิดการเรียนรู้ลงลึกถึงระดับพนักงาน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดกิจกรรม SGA ขึ้นเพื่อให้เป็นกลุ่มที่เรียนรู้ทุกๆ เรื่องในองค์กร โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ปฏิบัติงาน 8 – 10 คน ทุกคนในองค์กรจะต้องสังกัดกลุ่ม แม้แต่คณะกรรมการผู้จัดการยังต้องสังกัดกลุ่ม SGA เช่นกัน
ทั้งนี้ SGA เป็นกุศโลบายที่ทำให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดมาตรฐานการใช้งานในทุกๆ พื้นที่ และเกิดเป็นนิสัยของการทำงานประจำ ในโรงงานจะมีการจัดเตรียมพื้นที่เป็นมุมประชุมเล็กๆ ไว้ให้กลุ่มได้ใช้ประชุมกัน ซึ่งแต่ละวันแต่ละกลุ่มจะมีโอกาสประชุมกัน 10 -15 นาทีในช่วงเวลาพัก สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ทุกวันจะมีกลุ่มคุยงานกระจายอยู่ให้เห็นทั่วไป นอกจากนี้แต่ละพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็ยังได้เรียนรู้เทคนิคการทำมาตรฐานพื้นที่จากกลุ่มอื่นๆ ผ่านการดูพื้นที่จริงและสามารถเข้าไปค้นคว้าเทคนิคในเว็บไซด์ของบริษัทฯ ได้อีกด้วย
Smart System แหล่งเรียนรู้ของ NOK ที่เป็นดิจิตอล จะมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ ระบบ Internet และต่อมาคนของ NOK ได้พัฒนาต่อยอดเป็น ระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กร เป็นที่รวบรวมสาระของทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน ทุกกิจกรรม ตลอดจนการลากิจลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุม และกิจกรรมของ NOK ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ ทุกๆ สายงานจะบรรจุข้อมูลของทุกคนลงใน Portal นี้ด้วยเช่นกัน
ที่น่าทึ่งมากๆ คือ เอกสารรายงานหน้าเดียว (One-page report) เนื่องจากเป็นเอกสารรายงานผลการดำเนินงานของทุกฝ่าย ซึ่งถูกกำหนดวิธีการรายงานผล ที่ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสามารถเชื่อมโยง และประมลผลออกมา ซึ่งสามารถเพิ่มเติมข้อมูลได้ถึงวันละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้บริหารเกิดความสะดวกในการติดตามผลการดำเนินธุรกิจในทุกๆ แง่มุมขององค์กรได้ครบถ้วนในเวลาอันสั้นด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารมีเวลามากพอที่จะไปคิดสร้างสรรค์พัฒนางานไปข้างหน้าตัดปัญหาการติดตามทวงถามงาน นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ฟ้าเอกสาร เพราะสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ใหม่ที่สุดได้ในระบบ Portal
ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานในองค์กร
1. เนื่องจาก NOK มีวิสัยทัศน์ที่จะปลูกฝังวัฒนธรรมด้านวินัยและทัศนคติที่ดีในการทำงานโดยเริ่มที่ใจก่อน ทำให้วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานมีความชัดเจนและเข้มแข็ง เกิดความร่วมมือจากพนักงานทุกคน จนกระทั่งก่อให้เกิดการผลักดันกิจกรรมต่างๆ ออกมาได้ง่าย
2. “ผู้บริหาร” เป็นบุคคลสำคัญที่เป็นแบบอย่างให้พนักงานทุกๆ คน เอาจริงเอาจัง ตอบสนองนโยบายบริษัท อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นกันเอง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นสามารถสนับสนุนนโยบายของบริษัทได้เป็นอย่างดี
3.มีระบบถ่ายทอดความรู้ ที่ใครเห็นอะไร รู้อะไรดีๆ แล้วต้องมาถ่ายทอด ซึ่งอยู่ในระบบที่เรียกว่า “OPL” (One Point Lesson) เป็นการสอนแบบสั้นๆ โดย “ผู้รู้” เขียนลงบนกระดาษแผ่นเดียว อาจจะเป็นหัวหน้าสอนพนักงาน เพื่อนสอนเพื่อนก็ได้ แต่ไม่ใช่ 1 คน สอน 10 คน เป็นการสอนแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งคนเท่านั้น สิ่งนี้เองทำให้เกิดโอกาสที่พนักงานทุกคนได้แสดงศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ของตนเองอยู่เสมอ
4. NOK เป็นบริษัทเอกชนที่เปิดกว้าง ให้องค์กรภายนอกเข้ามาศึกษาดูงาน โดยได้ประโยชน์จากการดูงานคือ เป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรเกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาองค์กรซึ่งเปรียบเสมือน ”บ้าน” ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงศักยภาพให้ ”เพื่อน” ผู้มาเยือนได้เห็นอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการ “ให้” และเมื่อให้แล้ว NOK ยิ่งพบว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ”
1 ความคิดเห็น:
เป็นบริษัทที่ใช้ระบบให้ทำงานจริงๆ ค่ะ เขียนได้ดีนะคะขอชื่นชม
แสดงความคิดเห็น